วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ลดความอ้วนด้วยสาระพัดผักพื้นบ้าน

ผักพื้นบ้านและสมุนไพรที่มีอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วไทยนั้น นอกจากจะเป็นเครื่องปรุงหาง่ายในการประกอบอาหารแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพช่วยในการรักษารูปร่าง รวมไปถึงผลด้านความงามอย่างการลดความอ้วนด้วย วันนี้เราจะมาแนะนำผักพื้นบ้านและสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก เรียกได้ว่าเป็นสมุนไพรลดความอ้วนที่ไม่ต้องเสียเงินแพงกันค่ะ



ผลส้มแขกลดความอ้วน
ผลส้มแขก หรือ Garcinia Combogia เป็นสมุนไพรที่พบมากทางภาคใต้ มีรูปร่างคล้ายผลฟักทองขนาดเล็ก มีการวิจัยพบว่าในส้มแขกนั้นมีสาร HCA ซึ่งช่วยยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกิน เปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นพลังงาน จึงถือได้ว่าส้มแขกเป็นสมุนไพรลดความอ้วนที่ดีมาก เมนูที่นิยมรับประทานได้แก่ ยำส้มแขก ส้มแขกแช่อิ่ม ส้มแขก 3 รส
 

หัวบุกลดความอ้วน
หัวบุก เป็นพืชล้มลุกคล้ายพืชตระกูลมัน มีสารกลูโคแมนแนนที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว เพราะพองตัวได้นานถึงครึ่งชั่วโมง และช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย แม้จะไม่มีสรรพคุณที่ช่วยลดความอ้วนโดยตรงแต่ถือเป็นพืชที่ช่วยให้อิ่มแต่ไม่ให้พลังงาน จึงนิยมรับประทานแทนข้าว บุกมักจะถูกแปรรูปเป็นเส้นใยขุ่นคล้ายวุ้นเส้น หรือก้อนลูกเต๋าเล็ก ๆ นำมาผสมกับเครื่องดื่ม หรือนำมาผสมกับสลัด ยำ หรือส้มตำ

แมงลักลดความอ้วน
แมงลัก เป็นพืชล้มลุกให้ไฟเบอร์สูง มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ 25 เท่า ทำให้พองตัว เป็นสมุนไพรลดน้ำหนักเนื่องจากเมื่อกินเข้าไปจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอยู่ท้องนาน ช่วยป้องกันการดูดซึมไขมันสู่กระแสเลือด ช่วยลดระดับไขมันและน้ำตาล ขับถ่ายได้ง่ายมากขึ้น บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยลดการดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกาย นิยมผสมน้ำหวานหรือน้ำเต้าหู้ดื่มก่อนนอนเพื่อช่วยในการขับถ่ายล้างลำไส้

ดอกคำฝอยลดความอ้วน
ดอกคำฝอย พบมากทางภาคเหนือ มีคุณสมบัติช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ขับเหงื่อและเป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ปัจจุบันดอกคำฝอยมักจะนำมาทำเป็นชา และนำมาใช้ในการลดความอ้วนด้วยการชงดื่ม

พริกขี้หนู พริกไทยลดความอ้วน

พริก พริกขี้หนู พริกไทย เป็นสมุนไพรที่หาได้ทั่วไปในประเทศ มีสารแคปไซซิน ที่ช่วยร่างการเผาผลาญไขมันและอาหารเพิ่มขึ้น เมื่อสารอาหารถูกเผาผลาญได้เร็วขึ้นน้ำหนักก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ข้อพึงระวังก็คือการรับประทานพริกที่มากเกินไปอาจจะทำไห้ท้องเสียได้ และการกินเผ็ดจัด ๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อกระเพาะ


มากินอาหารทะเลเพื่อสุขภาพกันเถอะ!

ซีฟู้ดหรืออาหารทะเลของโปรดของคนจำนวนไม่น้อย นอกจากรสชาติอันโอชา เมื่อนำมาปรุงด้วยกรรมวิธีที่หลากหลายทั้ง ต้ม นึ่ง ทอด ปิ้ง เผา หรือจะนำมายำ ภายใต้รสชาติอันโอชานั้นยังมีคุณค่าทางอาหารต่างๆ มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพซ่อนอยู่ อาหารทะเลชนิดต่างๆ จะมีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้างตามมาดูกันเลย

อาหารทะเลเพื่อสุขภาพ

ปลา ดาวเด่นแห่งท้องทะเลชนิดนี้เป็นอาหารทะเลที่นับว่าหารับประทานได้ง่ายและมีให้เลือกหลากหลายชนิด ปลาเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นที่ร่างกายต้องการ อย่างโอเมก้า -3 ในปริมาณมากอีกด้วย นอกจากนี้เนื้อปลายังมีไขมันต่ำ ย่อยง่าย ถือเป็นอาหารลดความอ้วนสำหรับสาวๆ ได้อย่างดีเลยล่ะ

กุ้ง เห็นตัวจิ๋วๆ แค่นี้แต่อุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุและคาร์โบไฮเดรต ยิ่งถ้าเป็นกุ้งฝอยหรือกุ้งแห้งที่รับประทานได้หมดทั้งเปลือก จะยิ่งช่วยเพิ่มแคลเซียมที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เหมาะกับคุณแม่ หรือผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกเปราะและกระดูกพรุ่นอย่างมาก

ปลาหมึก เจ้าสัตว์ทะเลตัวขาวอวบนี้มีโปรตีนและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยไปกว่าซีฟู้ดชนิดไหนๆ  แต่ทั้งนี้เนื้อขาวๆ รสชาติอร่อยของเจ้าปลาหมึกนี้มีคาร์โบไฮเดรตและคอเลสเตอรอลอยู่มาก ก็ควรจะกินในปริมาณที่เหมาะสม แค่อาทิตย์ละ1 -2 ครั้งก็พอแล้วล่ะ
ปูและหอย ในเนื้อปูและเนื้อหอย มีทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัสและธาตุเหล็กซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่สูง(ร้อยละ 2 ของน้ำหนัก) ดังนั้นก็ควรจะกินในปริมาณที่เหมาะสมด้วยค่ะ
นอกจากนี้ในอาหารทะเลยังมีแร่ธาตุอีกหนึ่งชนิดที่แม้ร่างกายจะต้องการในปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็ขาดไม่ได้ นั้นก็คือไอโอดีน หากขาดจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา คือโรคคอพอก ทำให้สมองทำงานไม่ปกติและมีพัฒนาการ การเรียนรู้ช้า  เห็นไหมค่ะว่าซีฟู้ดหรืออาหารทะเลนี้ทั้งอร่อยและก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากๆเลยทีเดียว  อาหารมื้อหน้าอย่าลืมเลือกเมนูอาหารทะเลเพื่อสุขภาพกันด้วยนะคะ
ซีฟู้ด, อาหารทะเล, อาหารทะเลเพื่อสุขภาพ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

กุหลาบมีดีกว่าที่คิดค่าาาาาา



ราชินีแห่งดอกไม้ อย่าง กุหลาบนั้น นอกจากจะเป็นดอกไม้สุดสวย กุหลาบ นอกจากสวย และกลิ่นดีดีแล้ว ยังมีประโยชนืต่อร่างกายและสุขภาพของเราอีกด้วยนะเออ วันนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับ ดอกกุหลาบมอญ และประโยชน์ของเขาดีกว่า
ดอกกุหลาบมอญ เป็นดอกไม้ที่ทรงโปรดของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ท่านทรงนำกลับมาหลังจากเสร็จสงครามที่เมืองมอญ กุหลาบมอญนี้เข้าใจว่าเป็นของทวีปเอเชียภาคตะวันออก มีปลูกในอินเดียมานานมากก่อนที่จะมีปลูกในเมืองไทย

ดอกกุหลาบมอญ  สามารถทำชากุหลาบ ไว้ดื่มเองที่บ้าน ได้ นำมาเด็ดเป็นกลีบๆ ทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำสักรอบ แล้วนำไปตากแดด แล้วใส่ขวดโหลให้มิดชิด
วิธีการชงชา ต้มน้ำให้เดือดๆ ปล่อยให้อุ่น แล้วนำกลีบกุหลาบที่เราตากแห้งเป็นชาลงไป จะหอมสดชื่นแล้วยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้นอนหลับง่าย ผิวพรรณสดใส ช่วยปรับฮอร์โมนให้สมดุล เรื่องประจำเดือน แถมยังช่วยกระตุ้นระบบประสาท และสมองเราให้แจ่มใส ด้วยค่ะ


ต้นข่อย..ไม้ประดับยอดสมุนไพร


ต้นข่อย (Siamese Rough Bush) เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง 5-15เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ขึ้นเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกมีสีเทาอ่อน ข้างในลำต้นและกิ่งจะมีน้ำยางสีขาวข้น ใบมีขนาดเล็ก ขอบใบเรียบโคนใบมนแหลม ปลายใบแหลม คล้ายรูปไข่ กว้างประมาณ 3.5ซม. ยาว 4-7ซม. เนื้อใบหนาและสากคล้ายกระดาษทราย ทั้ง 2ด้าน ดอกออกเป็นช่อ สีเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง รวมกันเป็นกระจุก ผลทรงกลมเล็ก ๆ เมื่อสุกมีสีเหลืองสด รสหวาน
นอกจากจะเป็นไม้ประดับตกแต่งแล้ว ยังสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นข่อย มาเป็นสมุนไพรได้ด้วย เช่น คนโบราณนำกิ่งข่อยมาใช้ในการแปรงฟันแทนแปรงสีฟัน แต่ต้องทุบให้นิ่มก่อน  
ใบ – เมื่อนำไปปิ้งให้กรอบ ใช้ชงกับน้ำ รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ หรือนำไปคั่ว แล้วชงกับน้ำแก้ปวดประจำเดือนได้
เปลือก – สามารถนำมารักษาแผล แก้ท้องร่วง แก้โรคผิวหนัง
ราก – ก็นำมาใช้รักษาแผลได้เช่นกัน
เมล็ด – ทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น
ต้นข่อยมีชื่อเรียกพื้นเมืองแตกต่างกันออกไป เช่น ภาคเหนือเรียกกักไม้ฝอย จ.ร้อยเอ็ดเรียกส้มพอ เขมรเรียกสะนาย เป็นต้น คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นข่อยไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความมั่นคง ช่วยป้องกันศัตรูจากภายนอกได้ เพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้อาศัยควรปลูกต้นข่อยไว้ทางทิศตะวันออก และปลูกในวันเสาร์ ถ้าปลูกในแปลงใช้หลุมขนาดประมาณ 50x50x50ซม. ส่วนการปลูกใส่กระถางใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-24นิ้ว และควรเปลี่ยนกระถาง 2-3ปีต่อครั้ง ต้นไม้ชนิดนี้ชอบแสงแดดจัดและดินร่วนซุย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด และปักชำ

น้ำทับทิม...เพื่อสุขภาพ


ทับทิม เป็นผลไม้ที่สวยงามและมีกลิ่นหอมมาก สามารถปลูกได้ในประเทศไทย แต่ที่แท้จริงเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) และมีแถบอินเดียตอนเหนือบริเวณเทือกเขาหิมาลัย
ในเมืองไทย ทับทิมดูจะเป็นผลไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นิยมนำไปถวายแด่พระแม่กวนอิม ในประวัติศาสตร์ พบว่าได้มีการนำทับทิมมาทำเป็นยารักษาโรคตั้งแต่ 80 ปีมาแล้ว ในประเทศเปอร์เซียโบราณมีความเชื่อว่า คุณค่า ทางอาหารทุกชนิดที่มีอยู่ในผลไม้ต่างๆ นั้น รวมกันอยู่ในทับทิม ทับทิมเป็นผลไม้ที่ได้รับการเพาะปลูกอย่างแพร่หลาย โดยมีการใช้ทับทิมเป็นสัญลักษณ์ของผลไม้ ถือว่าเป็นผลไม้จากสวรรค์หรือเป็นของขวัญจากพระเจ้า
ส่วนผสม
  • เนื้อลูกทับทิม 1 ถ้วยตวง
  • น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
  • น้ำเชื่อม ตามชอบ
  • เกลือ ตามชอบ
  • วิธีทำ
  • นำทับทิมแกะเอาแต่เนื้อ 1 ถ้วย ใส่ในผ้าขาวบางขยำเติมน้ำต้มสุข 1 ถ้วย ขยำซ้ำอีก กะว่าให้ได้เนื้อออกมาจากเมล็ดมากที่สุด จากนั้นนำมาเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่น คนให้ละลาย ชิมตามชอบ

  • ประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพร
    ทับทิมในตำราแพทย์สมัยโบราณ ในผลทับทิมมีวิตามินมากมายหลายชนิด รวมทั้งแมกนีเซียมและแคลเซี่ยม ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบฟอกโลหิต และ ระบบการหมุนเวียนในร่างกาย ในตำราแพทย์โบราณของเปอร์เซีย (ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำรับของวิชาแพทย์ตะวันตกในปัจจุบัน) ระบุว่าทับทิมมี ประโยชน์ดังต่อไปนี้
    • การฟื้นฟูสู่สภาพเดิมของหัวใจและตับ
    • การฟอกไตและท่อปัสสาวะ
    • สมรรถนะในการส่งเสริมการย่อย
    • ขจัดไขมันส่วนเกิน
    • เป็นยาบำรุงกำลัง
    • ช่วยป้องกันการแพ้ท้อง
    • ช่วยปรับฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน
    • ปรับปรุงระบบการฟอกและหมุนเวียนโลหิต
    • การฟื้นฟูจากโรคเบาหวาน
    • สมรรถนะในการกลั้นเสมหะ
    • ต่อต้านการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและเพิ่มพลัง
    • ป้องกันโรคขี้หลงขี้ลืมในผู้สูงอายุ
    • ทำให้ผิวหน้าสวย

อาหารกับสุขภาพช่องปาก

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคอัมพาต..ครึ่งซีก..น่ากลัวนะ


กลุ่มเสี่ยง

สำหรับคนทั่วไปจะมีความเสี่ยงสูงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาด้านการอุดตันของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทตายจากการขาดเลือด และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อใหม่หรือการกำเริบของไวรัสในร่างกาย
สาเหตุ

ผู้ป่วยโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกเกือบทั้งหมดไม่ได้มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก และสาเหตุในผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเริม (Herpes simplex virus type1) หรือไวรัสอื่นๆ ที่เส้นประสาทสมองที่ 7 เช่น ไวรัสโรคสุกใส ไวรัสเอปสไตน์บาร์ หรือเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคไลม์ ซึ่งการติดเชื้อข้างต้นนี้อาจเป็นการติดเชื้อใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเป็นการกำเริบจากการติดเชื้อที่แฝงอยู่เดิมในร่างกายก็ได้ เมื่อร่างกายอ่อนแรงลง ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยความเครียดทางจิตใจ หรือจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือโรคทางกายอื่นๆ ก็จะทำให้เกิดโรคขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบสาเหตุที่จำเพาะของโรคนี้

นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองที่ 7 ที่ทำให้เกิดอาการไม่ต่างจาก Bell’s palsy ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น อุบัติเหตุต่อเส้นประสาทโดยตรง การติดเชื้อบริเวณข้างเคียง หูชั้นในอักเสบติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

อาการ

     • อาการเด่นที่มักนำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนแรง หรือที่เรียกว่าอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก โดยเกิดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือข้ามคืน
     • ผู้ป่วยมักปิดตาไม่สนิท ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ง่าย มีน้ำตาไหลมากขึ้น
     • เนื่องจากเส้นประสาทสมองที่ 7 นี้มีแขนงเล็กๆ ไปที่กล้ามเนื้อของหูชั้นกลาง บางรายจึงอาจมีอาการปวดบริเวณหลังหูร่วมด้วย เช่น รู้สึกว่ามีเสียงดังหรือก้องขึ้นในหูด้านเดียวกัน
     • บางรายอาจมีการรับรสที่ผิดปกติร่วมด้วย แต่เป็นส่วนน้อย


การวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติถึงอาการและระยะเวลาที่เกิดขึ้น อาการร่วมอื่น สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ และตรวจร่างกาย เพื่อยืนยันถึงรอยโรคที่เส้นประสาทสมองนี้ และแยกโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันออกไป

โดยรูปแบบของอาการใบหน้าอ่อนแรงในโรคนี้จะมีลักษณะพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากความผิดปกติของใบหน้าอ่อนแรงที่เกิดจากเหตุโรคในสมองคือ กลุ่มกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งครึ่งซีกที่รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก (ที่ใช้ยักคิ้ว/ย่นหน้าผาก) และกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่างของใบหน้า (ที่ใช้แสยะยิ้ม แยกเขี้ยว เม้มปาก) จะมีความผิดปกติทั้งคู่ ผู้ป่วยจึงดูมีลักษณะว่าใบหน้าด้านนั้นดูห้อยลง ปิดตาไม่สนิท ย่นหน้าผากไม่ได้ ดื่มน้ำแล้วน้ำซึมจากมุมปาก หรือเมื่อให้ผู้ป่วยยิงฟัน หน้าจะถูกดึงไปด้านตรงข้าม ทำให้ดูเหมือนว่าหน้าเบี้ยวด้านตรงข้าม 

โดยทั่วไป แพทย์จึงมักให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติมพิเศษ ส่วนในรายที่สงสัยว่ามีปัจจัยเสี่ยงสูงข้างต้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน และเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ก็ควรตรวจหาโรคเบาหวาน โรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ ตรวจเอกซเรย์ หรือภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ฯลฯ
การรักษา

ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่แน่นอนก่อน แม้ว่าโดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาพิเศษ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกันตามความรุนแรงของโรคตั้งแต่ต้น และผู้สูงอายุจะฟื้นตัวช้ากว่าวัยอื่น แต่โดยเฉลี่ยอาการจะเริ่มดีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 และดีขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอดในช่วง 2-3 เดือน แล้วจึงเริ่มช้าลง แต่หลังจากมีอาการนาน 6 เดือนถึง 1 ปี โอกาสที่อาการจะดีขึ้นจะลดลงมาก

อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในการวิจัยเพื่อหายามารักษาให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการใช้ยาต้านไวรัสและยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ ซึ่งข้อมูลของงานวิจัยที่ผ่านมา ยืนยันถึงประโยชน์ของการให้ยาสเตียรอยด์ เช่น การให้ยาเพรดนิโซโลน (prednisolone) เป็นเวลา 7-14 วัน จะทำให้เส้นประสาทมีการฟื้นตัวเร็วขึ้น และลดความพิการจากโรคได้บ้าง แต่ต้องให้ยานี้ภายใน 2-3 วัน 

หลังเกิดอาการขึ้น หากให้ช้ากว่านั้นจะไม่ได้ประโยชน์เท่าไร ส่วนยาต้านไวรัส เช่น acyclovir พบว่า มีประโยชน์ไม่ชัดเจน และหากจะให้ก็ควรที่จะให้โดยเร็วเช่นกัน 
ส่วนการทำกายภาพบำบัด การกระตุ้นไฟฟ้า การฝังเข็มนั้นยังสรุปผลไม่ชัดเจน จึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นแนวทางการรักษามาตรฐาน

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

โดยรวมผู้ป่วยราวร้อยละ 70-80 จะมีอาการหายสนิท แต่ส่วนหนึ่งจะมีอาการใบหน้าเป็นอัมพาตเพียงบางส่วน ส่วนน้อยจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมา เช่น ใบหน้าเป็นอัมพาตบางส่วนถาวร ใบหน้ากระตุก ซึ่งอาการสำคัญคือ กล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวไม่ประสานกัน (synkinesis) เช่น เมื่อผู้ป่วยปิดตา มุมปากจะกระตุกขึ้น ปรากฎการณ์นี้เกิดจากการที่เส้นประสาทงอกกลับไปที่กล้ามเนื้อผิดตำแหน่ง ทำให้การควบคุมของกล้ามเนื้อผิดปกติ ส่วนในบางราย การงอกกลับที่ผิดปกติของเส้นประสาทนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีน้ำตาไหลขณะกินอาหาร ที่เรียกว่า “กลุ่มอาการน้ำตาจระเข้” (crocodile tear syndrome)


วิธีการดูแลและปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

  
  • การดูแลดวงตา เนื่องจากผู้ป่วยมักปิดตาได้ไม่สนิท ทำให้เกิดการระคายเคืองตา ตาแห้ง และกระจกตาแห้งได้ง่าย จึงควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตาบ่อยๆ เช่น ใช้น้ำตาเทียมทุก 2-4 ชั่วโมงในระหว่างวัน และใช้น้ำตาเทียมชนิดเจลหรือขี้ผึ้งหยอดตาก่อนนอน ส่วนในช่วงกลางวันควรใส่แว่นเพื่อป้องกันฝุ่นและป้องกันอุบัติเหตุต่อตา ในช่วงกลางคืนอาจใช้เทปช่วยปิดเปลือกตาให้หลับตาได้สนิท หรือใช้แผ่นปิดตาปิดชั่วคราวในระหว่างนั้น
     • การรับประทานอาหารและดื่มน้ำ ควรทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหรืออาหารหก หรือรั่วจากมุมปาก (ผู้ป่วยมักใช้หลอดดูดเครื่องดื่มไม่ได้เพราะปิดปากไม่สนิท
     • ควรบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าในระหว่างที่เส้นประสาทกำลังฟื้นตัว เช่น ฝึกยิงฟัน หลับตา เม้มปาก ย่นหน้าผาก
     • ควรรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง หากได้รับยาต้านไวรัสและสเตียรอยด์
     • ควรรีบกลับมาพบแพทย์เพื่อประเมินใหม่อีกครั้ง หากมีอาการอื่นเพิ่มขึ้นจากใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เช่น มีอาการเดิมในด้านตรงข้าม เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน การได้ยินลดลง ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง 
     • อาจปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดกล้ามเนื้อบางส่วน หากผู้ป่วยยังมีอาการไม่ดีขึ้นหลังเวลาผ่านไป 6 เดือน - 1 ปีแรก และมีภาวะแทรกซ้อนของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้า ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแสดงสีหน้าได้บ้าง โดยเฉพาะการยิ้ม

จากข้อมูลข้างต้น ผู้อ่านคงจะสบายใจขึ้นบ้างว่า โรคนี้ไม่เป็นอันตรายมากนัก ส่วนใหญ่มักหายเป็นปกติในช่วงเวลา 3 เดือน โดยอาจใช้ยาบางชนิดร่วมด้วยเพื่อให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่ระหว่างนั้นก็ควรระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการติดเชื้อที่กระจกตาและตาแห้ง ซึ่งหากอาการไม่ดีขึ้นก็ยังมีแนวทางการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย